เมนู

แม้ในเรื่องภิกษุณี เรื่องสิกขมานา เรื่องสามเณร เรื่องสามเณรีเปรต ก็
วินิจฉัยนี้เหมือนกัน.

[เรื่องแม่น้ำตโปทา]


ในเรื่องแม่น้ำตโปทา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อจฺโฉทโก
แปลว่า มีน้ำใส.
บทว่า สีโตทโก แปลว่า มีน้ำเย็น.
บทว่า สาโตทโก แปลว่า มีน้ำรสอร่อย
บทว่า เสโตทโก แปลว่า มีน้ำบริสุทธิ์ คือ ไม่มีสาหร่ายแหน
และเปือกตม.
บทว่า สุติฏฺโฐ คือ เช้าถึงแล้วด้วยท่าทั้งหลายที่ดี.
บทว่า รมณีโย แปลว่า น่าให้เกิดความยินดี.
บทว่า จกฺกมตฺตานิ แปลว่า มีประมาณเท่าล้อรถ.
ข้อว่า กุฏฺฐิตา สนฺทติ ความว่า เป็นแม่น้ำร้อนจัด เดือดพล่าน
ไหลไปอยู่.
บทว่า ยตายํ ภิกฺขเว ตัดบทเป็น ยโต อยํ ภิกฺขเว แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ใด ... ?
บทว่า โส ทโห แปลว่า ห้วงน้ำนั้น.
ถามว่า ก็แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ไหน ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ภายใต้ภูเขาเวภารบรรพต มีภพนาคประมาณ 500
โยชน์ ของพวกนาคผู้อยู่บนภาคพื้น เช่นกับเทวโลกประกอบด้วยพื้นอันสำเร็จ
ด้วยแก้วมณี และด้วยอาราม และอุทยาน. ห้วงน้ำนั้น อยู่ในที่เล่นของพวกนาค
ในภพนาคนั้น. แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ห้วงน้ำนั้น.

ข้อว่า ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนุตริกาย อาคจฺฉติ ความว่า
ได้ยินว่า มหาเปตโลกผ่านเมืองราชคฤห์มา, แม่น้ำตโปทานี้มาจากระหว่าง
มหาโลหกุมภีนรก 2 ขุมในมหาเปตโลกนั้น ; ฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่.

[เรื่องการรบ]


ในเรื่องการรบ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า นนฺทิ จรติ ได้แก่
ตีกลองพิชัยเภรีเที่ยวประกาศไป.
ข้อว่า ราชา อาวุโส ลิจฺฉวีหิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระนั่ง
ในที่พักกลางวันและที่พักกลางคืนของตนเห็นพวกเจ้าลิจฉวีผู้มีผีมือชำนาญ
ยิงได้แม่นยำ เมื่อคำนึงว่า ก็พระราชาทรงก่อสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ได้เห็นพระราซาทรงปราชัย หนีไปอยู่ ด้วยทิพยจักษุ. ลำดับนั้น พระเถระ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพวกท่าน ทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว.
คำว่า สจฺจํ ภิกฺขเว โมคฺคลฺลาโน อาห ความว่า โมคคัลลานะ
เมื่อคำนึงในเวลาพระราชาทรงปราชัย กล่าวสิ่งที่ตนเห็น ชื่อว่ากล่าวจริง.

[เรื่องช้างลงน้ำ]


ในเรื่องช้างลงน้ำ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า สปฺปินิกาย คือ
แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ
คือ ไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก. ได้ยินว่า
ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กัน
และกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้น ตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.